Add to Favorites  
เมนูหลัก
ค้นหาวัตถุมงคล
หมวดหมู่วัตถุมงคล
วัตถุมงคลวัดโล่ห์
- พระพิมพ์สมเด็จ รุ่น ธรรมรังสี
- พระพิมพ์สมเด็จ รุ่น เกศรังสี
- พระพิมพ์สมเด็จ รุ่นกนฺตธมฺโม
- ประเภทพระบูชา
- พระผงพิมพ์กดมือแบบโบราณ
- ประเภทพระผงทั่วไป
- ประเภทพระเนื้อดิน
- ประเภทเนื้อโลหะหล่อโบราณ
- ประเภทเหรียญโลหะปั๊ม
- ประเภทเครื่องรางทั่วไป
- ประเภทพระของขวัญ
- ประเภทจตุคามรามเทพ
วัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดพระขาว
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2540
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2541
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2542
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2543
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2544
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2545
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2546
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2547
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2548
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2549
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2550
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2551
- วัตถุมงคลที่ระลึกกฐินปี2552
การบูชาวัตถุมงคลทางไปรษณีย์
- การบูชาวัตถุมงคลทางไปรษณีย์
รายการเว๊บลิงค์น่าสนใจ
  วัดไชโยวรวิหาร
  วัดระฆังโฆสิตาราม
  จังหวัดอ่างทอง
  รับปรึกษาด้านกฏหมาย
ข่าวสารทั่วไป
  หนังสือพิมพ์ข่าวสด
  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
  หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

ประวัติหลวงปู่ทิม

ประวัติ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว "ข่าวสด""

ประวัติหลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว "พระครูสังวรสมณกิจ"

 เมืองกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามอยู่ 3 รูปร่วมสมัยและเป็นสหธรรมิกกันประกอบด้วย หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงปู่มี วัดมารวิชัย และหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ซึ่งมีวัยวุฒิไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะด้านไสยเวทวิทยาคมก็เป็นเอกอุต่างกัน
แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่เมี้ยน และหลวงปู่มี ละสังขารไปก่อนภาระเจตนาบุญได้รับการสืบสานต่อโดยหลวงปู่ทิม พระเกจิอาจารย์แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ล้วนแล้วแต่ต้องนิมนต์หลวงปู่ทิม เพื่อทำหน้าที่ประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยหรือดับเทียนชัย แต่แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2552 คณะศิษย์ของหลวงปู่ทิม อัตตสันโต ต้องได้รับข่าวเศร้า เมื่อหลวงปู่ทิมหรือพระครูสังวรสมณกิจ ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ขณะเข้ารับการรักษาอาการป่วย ณ โรงพยาบาลโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี สิริอายุ 96 พรรษา 62

อัตโนประวัติหลวงปู่ทิม มีนามเดิมว่า ทิม ชุ่มโชคดี เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2456 ปีฉลู ที่ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพร้อม และนางกิ่ม ชุ่มโชคดี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนลูกทั้งหมด 6 คน

 


คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
คนที่ 2 พี่เทียบ ชุ่มโชคดี
คนที่ 3 พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ 5 ต.พระขาว (เสียชีวิตแล้ว)
คนที่ 4 พี่ทอด ชุ่มโชคดี
คนที่ 5 หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี มรณภาพ วันที่ 22 มีนาคม 2552
คนที่ 6 นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี

ช่วงวัยเยาว์ หลวงปู่ทิมได้ ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดพิกุล จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อจบ ป.4 จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ก่อนจะถูกเกณฑ์เป็นทหาร ถูกส่งตัวไปปฏิบัติราชการสงครามฝรั่งเศส รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งปลดประจำการ หลวงปู่ทิมจึง ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2475 ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อปุ๋ย วัดขวิด เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อหลิ่ว วัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แต่บวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาได้เพียง 1 พรรษา ท่านได้ลาสิกขาแต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร-ธิดา 4 คน

หลังจากนั้น หลวงปู่ทิมท่าน ได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2491 ขณะอายุได้ 35 ปี ณ วัดพิกุล อ.บางบาล โดยมี พระครูอุดมสมาจารย์ (หลวงพ่อสังข์) วัดน้ำเต้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อัตตสันโต

หลังอุปสมบท หลวงปู่ทิมได้ อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ในระหว่างที่หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลนั้นได้มีชาวบ้านนำเอาศพคนตาย มาฝากไว้ในกุฏิถึง 2ศพด้วยกัน ทำให้เกิดมีแนวกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า สามัญในลักษณะ หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวง สิ่งนั้นก็คือ
อนิจจัง ( ความไม่แน่นอนในสังขาร )
ทุกข์ขัง (ความวุ่นวาย , ไม่สงบสุข ในสังขาร )
อนัตตา (ความตาย , ไม่มีตัวตน )

จากนั้นหลวงปู่ทิม ท่านได้ไปจำวัดอยู่ยังวัดน้ำเต้ากับอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสังข์ อยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าประมาณ 1 เดือน ในระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อสังข์นั้น หลวงพ่อสังข์ได้ไต่ถามถึงความเป็นมาของการปฏิบัติกรรมฐานที่ผ่านๆ มาเมื่อหลวงพ่อสังข์ ทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อสังข์ก็กล่าวชมเชยว่า ใช้ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีใครสอนหรือต่อให้มากอน พร้อมทั้งพูดเสริมขึ้นอีกว่า "ฉันบวชให้คุณฉันได้บุญหลาย" ต่อจากนั้น หลวงปู่ทิมก็ได้ นั่งปุจฉา-วิสัชนาอยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิด และทราบซึ้งในธรรมะมาก นับว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ท่านได้รับรู้แนวทางการเจริญธรรมกรรมฐานอย่าง จริงจังหลวงปู่ทิมมีเวลาอยู่เจริญกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิดเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม

 ต่อมาหลวงปู่ทิมจึงย้ายมาจำพรรษายังวัดพระขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2492 และขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.2498 จวบจนปัจจุบัน

ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อ พ.ศ.2500

พ.ศ.2510 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า ตำบลพระขาว พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสังวรสมณกิจ

พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการพัฒนา หลวงปู่ทิมท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้มั่นคงถาวรทั้งหมด

ดังที่ได้เห็นทุกวัน ซึ่งเกิดจากบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิม วัดพระขาวอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลงานปรากฏดังนี้คือ

หลวงปู่ทิมปรับ ปรุงกุฏิทั้งหมด รวม 9 หลัง เมื่อปี พ.ศ.2499-2500 สร้างหอสวดมนต์ เมื่อปี 2501 เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถจากกระเบื้องดินให้เป็นกระเบื้องเคลือบ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทำหน้าบันพระอุโบสถทำกำแพงรอบพระอุโบสถ ทำรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรอบๆ บริเวณวัดสร้างศาลาพักร้อนหน้าวัด สร้างฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)

ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และสร้างศาลาเรียงพร้อมทั้งเปลี่ยนกระเบื้องศาลาทั้งหมด ทำห้องสุขาชาย-หญิง พร้อมห้องน้ำ สร้างถังน้ำคอนกรีตใหญ่และศาลา สร้างสะพานคอนกรีตจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ จากกระเบื้องเคลือบมาเป็นกระเบื้องลายเทพนม สร้างภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ และเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เป็นพระนักปฏิบัติ และชอบการปลีกวิเวกอยู่ในป่าช้า สมถะรักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่จับต้องปัจจัยเงินทอง มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีความเมตตาต่อทุกคนที่ไปกราบไหว้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ หรือคนรวยคนจน ท่านให้ความเสมอภาค

การเข้ากราบไหว้ขอพรหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันหมด และจะได้รับแจกของดีจากมือท่านโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผน ปลาเงินปลาทอง ลูกอมชานหมาก ภาพถ่ายสี ขนาดพกติดตัวที่เลื่องลือกันว่ามีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภสูง

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว โดดเด่นด้านวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อสังข์ พระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นต้น จนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ

หลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่าน มีปริศนาธรรม คำสอนอันทรงคุณค่า รวมทั้งการสร้างและเสกวัตถุมงคลจนเลื่องชื่อ เป็นที่ต้องการของนักสะสมและลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ ลูกอมชานหมาก

ก่อนหลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่าน ละสังขารยังเมตตาอธิษฐานจิตพระขุนแผน,พระนางพญาและลูกอมชานหมากหัวใจพระสี วลี ให้วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนสร้างอุโบสถวัดโล่ห์ฯ นอกจากนี้ ยังอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย รุ่นที่ระลึกครบ 8 รอบ 96 ปี เพื่อนำรายได้บูรณะวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา

ท้ายที่สุด ด้วยสภาพสังขารที่ร่วงโรยไปตามวัย กอปรด้วยอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่บั้นปลาย หลวงปู่ทิม อัตตสันโตท่าน ย่อมไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมชีวิตที่เคยกล่าวปรารภไว้ได้เช่นกัน เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 22 มีนาคม 2552 หลวงปู่ทิมได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หรือ"พระครูสังวรสมณกิจ"ย้ำ อยู่เสมอว่า วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มขลังด้วยอำนาจแห่ง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ไม่ว่าใครจะมีพระเครื่องที่ดี เด่น ดังเพียงใดก็ตาม ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถหนีความตายไปได้
เพราะนี่คือสัจธรรมของชีวิต
คอลัมน์ มงคลข่าวสด ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน