พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสีปลุกเสกที่วัดระฆังโฆสิตาราม
พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสีปลุกเสกที่วัดระฆังโฆสิตาราม"
ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 6911 วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19
พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสี สร้างดี-ปลุกเสกวัดระฆังฯ
ห้วง นี้วัตถุมงคลรูปสี่เหลี่ยมกลับมาได้ รับความนิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะ "พระพิมพ์สมเด็จ" ยิ่งรุ่นไหนได้นำเข้าพิธีพุทธา ภิเษกที่วิหารวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ด้วยแล้ว มักจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ เพราะเป็นแดนธรรมถิ่นพำนักของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในสมัยที่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่
ล่าสุด "พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสี" ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากรุ่นหนึ่ง ยอดสั่งจองคึกคัก เพราะมีการออกแบบพิมพ์ทรงและเนื้อหาใกล้เคียงของเดิมอย่างมาก ผลงานของ "วัดโล่ห์สุทธาวาส" อ.เมือง จ.อ่างทอง
"พระครูนิเทศก์ธรรมรส" เจ้าอาวาสวัดโล่ห์สุทธาวาส กล่าวถึงวัตถุมงคลรุ่นนี้ว่า เป็นพระพิมพ์สมเด็จที่ย้อนยุค ย้อนตำนานการสร้างพระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยเฉพาะพุทธศิลป์ที่มีการออกแบบสวยงามโดดเด่น การกดพิมพ์พระด้วยมือทีละองค์แบบโบราณ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีการสร้างกันมากนัก เหตุเพราะวิธีการสร้างเช่นนี้ มักจะมีขั้นตอนในการสร้างที่ยุ่งยากต้องตระเตรียมการล่วงหน้าเป็นปีๆ และจะเร่งด้วยเวลาและจำนวนพระที่จะสร้างไม่ได้เลย
"ประการ สำคัญ พระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้ ยังคงรูปแบบอนุรักษ์วิธีการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงแบบเก่า ตามตำรับตำราโบราณอย่างเข้มงวด โดยให้ความสำคัญเริ่มตั้งแต่การรวบรวมมวล สารทั้งผงพุทธคุณเก่าอายุกว่า 150 ปี จากใต้ฐานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปางจับยามสามตา ซึ่งทันยุคของสมเด็จโต ผสมมวลสารผงชิ้นส่วนพระกรุทั้งเนื้อดินและเนื้อผง, ดินจากสถานที่สังเวชนียสถานสำคัญ สถานที่ประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน จากอินเดียและเนปาล และผงมวลสารมงคลจากพุทธ สถานที่สำคัญๆ ทั่วประเทศ ในการนี้ก็ต้องใช้เวลาเตรียมการกันหลายปีกันเลยทีเดียว"
"หลวงปู่ ทิม อัตตสันโต" แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเมตตานั่งปรกอธิษ ฐานจิตมวลสารเป็นปฐมมงคลก่อนละสังขาร เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2551 พร้อมทั้งร่วมเข้าพิธีปลุกเสกด้วยพระคาถามหาชินบัญชร 108 คาบ ครอบมงคลดวงมหาชินบัญชร พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกปลุกเสก ประกอบด้วย พระราชวชิราภรณ์ วัดพระเชตุพนฯ, หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน, หลวงพ่อโทน วัดเซิงหวาย ฯลฯ
เมื่อ มีความพร้อมสรรพครบถ้วนแล้ว จึงกำหนดฤกษ์เริ่มกดพิมพ์พระด้วยวิธีการกดพิมพ์ด้วยมือทีละองค์แบบโบราณ โดยขนานพระนามพระพิมพ์สมเด็จนี้ว่า "เกศรังสี" ซึ่งมีจำนวนพิมพ์พระทั้งสิ้น 6 พิมพ์ทรง กล่าวคือ 1.พิมพ์พระประธาน 2.พิมพ์ปรกโพธิ์ 3.พิมพ์เจ็ดชั้น 4.พิมพ์หกชั้น (อกตัน) 5.พิมพ์คะแนนสามชั้น 6.พิมพ์คะแนนเจ็ดชั้น โดยยังคงเป็นงานอนุรักษ์การแกะแม่พิมพ์ ตามลักษณะพิมพ์ทรงย้อนยุคแบบเก่าของเจ้าประคุณสมเด็จโต
ความพิเศษใน "พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสี" นี้ กล่าวได้ว่าเป็นมหามงคลยิ่ง อันเนื่องจากได้รับความเมตตาจากพระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณเที่ยง) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ณ วิหารพระพุทธรัตนมาลา คณะ 4 วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ได้มีการอัญเชิญดวงพระวิญญาณและมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่านเจ้าคุณเที่ยง พิธีกรรมยาวนานสมบูรณ์ยิ่งใหญ่ ซึ่งก่อให้บังเกิดเดชะพลังความเข้มขลังทางพุทธคุณเป็นมงคลโดยแท้ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2552 วาระที่สามเป็นอันเสร็จสิ้น
อนึ่ง พระพิมพ์สมเด็จเกศรังสี นอกเหนือจากจำนวนที่สร้างบรรจุลงกรุในอุโบสถหลังใหม่ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติแบบโบราณแล้ว ทางวัดโล่ห์สุทธาวาส จักได้มอบเป็นที่ระลึกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมทำบุญสร้างอุโบสถ ซึ่งได้กำหนดจัดงานบุญฉลองผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในช่วงวันที่ 13-21 กุมภาพันธ์ 2553
พระพิมพ์สมเด็จที่มีวิธีการสร้างเช่นนี้ ใช่ว่าจะหาบูชากันได้ง่ายๆ ในปัจจุบัน อีกทั้งมวลสารที่ใช้ในการสร้างก็ยังเป็นมงคลถือกำเนิดจากเจ้าประคุณสมเด็จโต เรียกได้ว่าถึงยุคอย่างไม่ต้องสงสัย และผนวกด้วยบุญกุศลจากการทำบุญบูชา ที่ทางวัดจะได้นำปัจจัยไปดำเนินการสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จ ก็ย่อมเป็นมหากุศลผลบุญติดตัวไปทุกภพทุกชาติโดยแท้ ซึ่งในขณะนี้ทางวัดโล่ห์สุทธาวาส ได้เปิดให้สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญเพื่อจองบูชาพระพิมพ์สมเด็จรุ่น "เกศรังสี" นี้แล้ว ซึ่งท่านสามารถร่วมทำบุญกับทางวัดได้โดย ตรงที่วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง
ติดต่อสอบถามโทร.0-3561-1778, 08-2352-3788, 08-1853-5483 ชมในเว็บไซต์ www.watlo.net
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด
พระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณเที่ยง)เมตตาปรกอธิษฐานจิตพระพิมพ์สมเด็จเกศรังสี
ณ วิหารพระพุทธรัตนมาลา คณะ๔ วัดระฆังโฆสิตาราม
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๒
ตอนที่๑
ตอนที่๒
|